วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

 
        การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 

    คุณธรรม จริยธรรมของครู                                  


        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร                
        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง              
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง             
       4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น           
       5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน             
       6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์          
       7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น               
       8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที              
       9.ครูต้องไม่ประมาท               
     10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี         
     11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ               
     12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา      
     13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น               
     14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์           
     15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา          
     16.ครูต้องมีการให้อภัย              
     17.ครูต้องประหยัดและอดออม               
    18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่               
    19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ             
    20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


ประเพณีไทย


 ประเพณีแห่ดอกไม้ของชาวลาวเวียง
ประเพณีนี้จัดเพื่อฉลองสงกรานต์ของชาวลาว เวียง 4 ตำบล ได้แก่
  -พิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต : ประชาชนชาวไทยเชื้อสายลาวเวียง ตำบลเขาแร้ง ร่วมกัน จัดพิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันเริ่มงานเทศน์มหาชาติ ทางวัดโสดา ประดิษฐาราม ได้มีพิธีอัญเชิญพระเถรอุปคุต เพราะเชื่อว่าพระเถรอุปคุตเป็นพระเถระผู้ใหญ่ จำศีล สะดือทะเลเป็นผู้คุมและดูแลงาน ปกปักรักษาและคุ้มครองงานเทศน์มหาชาติ ทางวัดได้จัดเครื่อง บูชาอัญเชิญอุปคุต โดยมีพระพุทธ ตาลปัตร ผ้าไตร ดอกไม้ ธูปเทียน เมื่อเริ่มทำพิธีพระสงฆ์ และ ชาวบ้านที่มาถือศีลมาร่วมชุมนุมกันอัญเชิญ ณ ข้างสระน้ำมีผู้อ่านโองการบูชาอัญเชิญพระอุปคุต แล้วนำพระพุทธรูปพร้อมเครื่องบูชาทั้งหมดอัญเชิญมาตั้งที่ศาลหน้าศาลาที่จะ มีการเทศน์มหาชาติ อันเชิญพระเถรอุปคุต
  -พิธีตักบาตรเทโว : พิธีตักบาตรเทโว ปฏิบัติกันในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ทำกันใน บริเวณอุโบสถ ทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนระหว่างคาหาม มีบาตรตั้งไว้ข้างหน้าพระพุทธรูปเคลื่อนไปช้าๆ นำหน้าพระสงฆ์ และสามเณร ซึ่งถือบาตรเรียงไป ตามลำดับ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายต่างก็นำข้าว อาหารหวาน คาว และข้าวต้มลูกโยน เรียงรายกัน เป็นแถวตามแนวที่บุษบกเคลื่อนผ่านคอยตักบาตร โดยชาวไทยลาวเวียงของตำบลเขาแร้ง อำเภอ เมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ซึ่งจัดทำที่วัดโสดาปรดิษฐาราม
  -การเลี้ยงผี การรำผีของคนมอญ : หมู่บ้านชัยรัตน์ ตำบลท่าชุมพล อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ส่วนมากตำบลท่าชุมพลจะเป็นคนมอญ พอถึงเดือน 4 เดือน 6 จะมีการทำพิธีเลี้ยงผี แต่ถ้าบ้านไหน มีคนในครอบครัวทำผิดธรรมเนียมของคนมอญ บ้านนั้นจะต้องทำพิธีเลี้ยงผี โดยต้อง มีการรำผีด้วย ปัจจุบันมีบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ นางกง สินค้าประเสริฐ นางเจียน ปั้นน่วม และนางนที โนรีสุวรรณ  

    ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง
    ประเพณีกินข้าวห่อกะเหรี่ยง ของตำบลสวนผึ้ง และกิ่ง อำเภอบ้านคา หรือประเพณีเดือน 9 เป็นประเพณีอันดีงามที่ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดราชบุรี ประเพณี กินข้าวห่อกะเหรี่ยงจะเริ่มในเดือน “หล่าค่อก” หรือเดือนเก้าของทุกปี กะเหรี่ยงเชื่อว่าเดือนหล่าค่อก นี้ไม่ดี เป็นเดือนที่ภูตผีปีศาจจะออกหากิน โดยเฉพาะขวัญของชาวกะเหรี่ยงที่ไม่อยู่กับเจ้าของ ขวัญ ของใครถูกภูตผีจับกิน เจ้าของขวัญก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยจนถึงตายได้


การละเล่นของไทย
 
กระโดดยาง
จำนวนผู้เล่น
     3 คนขึ้นไป
วิธีเล่น
     นำหนังยางมาต่อกันคล้ายๆ โซ่ เวลาเล่นจะต้องมีผู้เล่น 2 คนถือยางคนละข้าง ดึงให้ตึงพอสมควร แล้วให้ผู้เล่นที่เหลือกระโดดข้าม แต่ละเกมการเล่นจะแบ่งเป็นระดับตามความสูงของการถือยาง คือจากต่ำไปจนถึงสูง หากผู้กระโดดไม่สามารถกระโดดข้ามได้ในความสูงระดับใดถือว่าแพ้ ต้องหยุดเล่นแล้วนั่งดูผู้ที่เหลือเล่นจนจบเกม
อุปกรณ์
     ยาง


วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 
 วันมาฆบูช
    "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน 4 ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วนๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประขุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา 4 ประการ

1. เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน 3 )

2. พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย

3.ภิกษุเหล่า นั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 ทั้งหมด ไม่มีภิกษุผู้เป็นปุถุชนหรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีแม้สักรูปเดียวมาประชุมในครั้งนี้

4.พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้

    

วันวิสาขบูชา

    วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

     วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน 6) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้

1. เป็นวันประสูติ นับเป็นวันที่รูปกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นบนผืนโลก  ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"

2. เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มต้นอัสสัตถพฤกษ์ หรือต้นพระศรีมหาโพธิ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา พระมหาบุรุษได้ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณ

3. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช 1 ปี ณ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา 

 

       

วันอาสาฬหบูชา

    วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ในสมัยพุทธกาลมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 รูป ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

2. เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงได้พระสาวกองค์แรก คือ ท่านโกญฑัญญะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรก 

 3. เป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรก คือ พระอัญญาโกญฑัญญะ ภายหลังจากที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ได้ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบท ยกขึ้นเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา

4. เป็นวันเกิดขึ้นของพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นพยานในการตรัสรู้ธรรม ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ครบถ้วนบริบูรณ์ คือ มิใช่เพียงแค่ตรัสรู้ธรรมเพียงพระองค์เดียวอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้า

 

 

วันเข้าพรรษา

 ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘

    "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียว นั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตาม สมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

 

วันออกพรรษา

    วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันออกพรรษาในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า เป็นวันที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มายังโลกมนุษย์ หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จไปจำพรรษา และแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดา ซึ่งอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่ลงมาฟังพระธรรมเทศนาที่ชั้นดาวดึงส์

    วันออกพรรษา หมายถึงวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยที่ต้องอยู่ประจำที่หรือในวัดแห่ง เดียวตลอด 3 เดือน  ในฤดูฝน กล่าวคือ เมื่อพระภิกษุได้อธิษฐานอยู่จำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 แล้วอยู่ประจำที่หรือวัดนั้นเรื่อยไป จนสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากวันออกพรรษาแล้วก็สามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้

 

 

วันพระ - วันโกน

วันโกน คือ วันขึ้น 7 ค่ำ กับ 14 ค่ำ และแรม 7 ค่ำ กับแรม 14 ค่ำ ของทุก เดือน ( หรือ แรม 13 ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด ) ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ 1 วัน นั่นเอง

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น 8ค่ำ กับ 15 ค่ำ และ แรม 8ค่ำ กับแรม 15ค่ำ ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม 14 ค่ำ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น